• Thammasat Gen Next Academy

    โครงการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไป
    ไม่จำกัดอายุ ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา ไม่จำกัดสัญชาติ
    เข้ามาเรียนในรายวิชาต่างๆ ที่เปิดสอนของมหาวิทยาลัย ได้ตามความสนใจ
    บุคคลที่เข้าร่วมโครงการนี้ จะถูกเรียกว่า "ศิษย์ธรรมศาสตร์"

  • “Agile and Dynamic Learning Path”

  • Thammasat Gen Next Academy

เรียนสนุก ทุกอุปกรณ์

ระบบบถูกออกแบบมาให้มีความใช้งานเข้ากันได้กับทุกอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ Smart Phone

ค่าใช้จ่ายถูก เมื่อเทียบกับระบบอื่น

มีรายวิชามากมายที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถหาความรู้ได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือค้นหาส่วนลดได้

ต่อยอดได้จริงด้านการศึกษา

ใบประกาศนียบัตรสามารถเทียบโอนได้ไม่เสียเวลา โดยเก็บเครดิตที่ได้จากระบบ เทียบโอนเข้าสู่การเรียนปกติ

About us

    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยกระดับยุทธศาสตร์รับการเปลี่ยนแปลงของโลกและตอบโจทย์ผู้เรียนยุคใหม่ จัดตั้ง “ธรรมศาสตร์ตลาดวิชา (Thammasat Gen Next Academy)” เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชน และการพัฒนาตนเองตามความประสงค์ของผู้เรียน ตามปรัชญาเสรีภาพทางการศึกษาของท่านผู้ประสาทการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการให้ทันสมัยสามารถเข้าถึงความต้องการของผู้เรียนทุกกลุ่มวัย ทั้งแบบออนไลน์ แบบเรียนห้องเรียนที่ มหาวิทยาลัย หรือ หลักสูตรฝึกอบรมเฉพาะที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญ

Personalized-based learning path

สร้างการเรียนรู้ที่เหมาะกับแต่ละคน

Competency focus

สร้างสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นที่ไม่สามารถทดแทนได้โดยง่าย

Outcome-based education

ต้องเริ่มออกแบบจาก Learning Outcomes ไม่ใช่จากรายวิชาที่ควรหรือต้องเรียน

Experiential-based learning integration

ผสานการเรียนรู้ที่หลากหลายรูปแบบ

20 คำถาม ธรรมศาสตร์ตลาดวิชา (สำหรับผู้เรียน)

ธรรมศาสตร์ตลาดวิชา คือ หน่วยบริการขยายโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชนเพื่อการพัฒนาตนเองตามความประสงค์ของผู้เรียน ตามปรัชญาเสรีภาพทางการศึกษาของท่านผู้ประสาทการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการให้ทันสมัยสามารถเข้าถึงความต้องการของผู้เรียนทุกกลุ่มวัย และมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือการเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเข้าศึกษาในรายวิชาต่าง ๆ ที่เปิดรับผู้เรียนเพิ่มเติมได้ หรือ ในหลักสูตรฝึกอบรมเฉพาะที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญ

กลุ่มเป้าหมายผู้เรียนประกอบด้วย 3 กลุ่มหลักคือ 1. กลุ่มนักเรียนมัธยม ที่ประสงค์จะเรียนล่วงหน้า (advancement) ในรายวิชาระดับมหาวิทยาลัยเพื่อเปิดโลกทัศน์ ทดสอบความสนใจ และ ค้นหาตัวตนก่อนเลือกเรียนหลักสูตรปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ โดยสามารถเลือกเรียนในวันธรรมดาหรือวันเสาร์ ตามความสะดวก 2. กลุ่มคนวัยทำงาน ที่ประสงค์จะพัฒนาเพิ่มทักษะและความรู้ที่ทันสมัย เพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขันขององค์กร 3. กลุ่มคนวัยเกษียณ ที่ประสงค์จะสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเลือกเรียนวิชาหรือหลักสูตรอบรมต่าง ๆ ที่สนใจ เพื่อสร้างคุณค่าให้แก่ชีวิตและสังคม

รูปแบบการเรียนในระบบตลาดวิชามี 3 รูปแบบคือ 1. การเรียนแบบในห้องเรียน (face-to-face) โดยเลือกเข้าเรียนกับนักศึกษาปกติในห้องเรียนตลอดภาคการศึกษา สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมงต่อหน่วยกิต เป็นเวลาประมาณ 15 สัปดาห์ 2. การเรียนแบบออนไลน์ (online e-Learning) โดยเลือกลงทะเบียนและเรียนที่บ้านผ่านระบบอินเทอร์เน็ต มีอาจารย์ประจำวิชาคอยให้คำปรึกษา ตรวจการบ้านและจัดกิจกรรมวัดผลประเมินผล บทเรียนแบบออนไลน์จะประกอบด้วยหลากหลายหน่วยการเรียนรู้ ใช้ระยะเวลาเรียนด้วยตนเองประมาณ 15 ชั่วโมงการเรียนรู้ต่อหน่วยกิต 3. การเรียนแบบคอร์สระยะสั้น (short course) เป็นการอบรมหรือฝึกปฏิบัติการ ระยะสั้น 1-4 สัปดาห์ อาจเป็นช่วงวันหยุด หรือ วันธรรมดาหลังเวลาราชการ หรือวันปกติ โดยอาจมีการนับจำนวนชั่วโมงเพื่อเทียบโอนเป็นหน่วยกิตได้ด้วย

นอกเหนือจากวิชาความรู้ ทักษะและทัศนคติใหม่ ที่เกิดจากการเรียนรู้ในวิชาแล้ว ผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์ในการเรียนและทำงานร่วมกัน ผ่านปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาที่เรียนร่วมกันในวิชาแล้ว หลังศึกษาสำเร็จผ่านการสอบประเมินผลแล้ว ผู้เรียนจะได้รับหน่วยกิตของวิชานั้น และได้รับประกาศนียบัตร รวมถึงทรานสคริปท์สะสมเป็นคลังหน่วยกิตของตนเอง (credit bank) และสามารถนำมายื่นพิจารณาขอเทียบโอนวิชา ในภายหลัง เมื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญาต่าง ๆ ของ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ได้ ทำให้ย่นระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการศึกษาต่อไปในอนาคต

หน่วยกิตที่สะสมไว้สามารถนำมาเทียบโอนได้ แต่มีระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 8 ปี กล่าวคือต้องศึกษาวิชาดังกล่าวมาแล้วไม่เกิน 8 ปี หากเกินช่วงเวลาดังกล่าวไม่สามารถเทียบโอนได้

ค่าใช้จ่ายในการเรียนประกอบด้วยค่าหน่วยกิต ซึ่งไม่เกิน 1.5 เท่าของค่าหน่วยกิตปกติ โดยไม่มีค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระเพิ่มเติม กล่าวคือยกเว้นค่าธรรมเนียมคอมพิวเตอร์และห้องสมุด อัตราค่าเรียนเป็นไปตามอัตราที่คณะ/สถาบัน เจ้าของวิชาเป็นผู้กำหนด

เมื่อชำระเงินค่าลงทะเบียนแล้ว สถานะของผู้เรียนคือ “ศิษย์ธรรมศาสตร์ (Thammasat Learner)” มีสิทธิในการเข้าเรียนและสอบวิชาที่ลงทะเบียน สามารถใช้บริการอำนวยความสะดวกภายในมหาวิทยาลัยด้านกายภาพ เช่น รถโดยสารฟรี, การเข้าถึงระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ต (wifi) และ ห้องสมุด/ศูนย์การเรียนรู้ต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยไม่มีบัตรประจำตัวศิษย์ธรรมศาสตร์ แต่จะมีบัตรเสมือน (virtual card) ในระบบออนไลน์ TU Student Application ที่ระบุเลขประจำตัวศิษย์ธรรมศาสตร์ ในการเข้าใช้บริการต่าง ๆ ได้ แต่ไม่สามารถใช้ระบุตัวตนเข้าสอบได้ โดยการเข้าสอบกำหนดให้ใช้บัตรประชาชน หรือเอกสารทางการอื่น ๆ ในการระบุตัวตนแทน

ผู้เรียนสามารถเลือกลงวิชาต่าง ๆ ได้ตามความต้องการของตนเอง โดยไม่จำกัด อายุ หรือ วุฒิการศึกษา หรือ วิชาบังคับเรียนก่อนหน้า (pre-requisite) ซึ่งผู้เรียนจะต้องศึกษารายละเอียดวิชาต่าง ๆ ด้วยตนเอง ปรึกษาอาจารย์ผู้สอน และ ประเมินตนเองว่ามีเวลา ความรับผิดชอบและความสามารถเพียงพอในการเรียนวิชาดังกล่าวหรือไม่ หากปรากฏภายหลังว่าตนเองมีพื้นฐานไม่พอจนไม่สามารถศึกษาจนจบวิชาได้จะไม่สามารถเรียกร้องได้อีก

ก่อนการลงทะเบียนเรียนรายวิชาแบบเป็นทางการ (official registration) ผู้เรียนต้องขึ้นทะเบียนเป็น ศิษย์ธรรมศาสตร์ก่อนโดยกรอกข้อมูลส่วนตัวตามที่กำหนดในระบบออนไลน์ที่จัดไว้ให้ก่อน หากยังไม่ขึ้นทะเบียนผู้เรียนยังสามารถทดลองเรียนในบางวิชาที่เปิดให้เรียนได้ แต่จะไม่สามารถรับหน่วยกิตสะสมและใบประกาศนียบัตรได้

ไม่มี การจำกัด แต่เป็นหน้าที่ของผู้เรียนเองที่จะต้องประเมินเวลา ความรับผิดชอบ และความสามารถของตนเองก่อนลงทะเบียนด้วยตนเองว่าสามารถที่จะศึกษาได้หรือไม่

การลงทะเบียนแบบเป็นทางการ (official registration) จะดำเนินการได้ ระหว่าง หรือ หลังจาก ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นศิษย์ธรรมศาสตร์แล้ว โดยสามารถศึกษารายละเอียดวิชาได้ก่อนหน้าวันลงทะเบียน ในช่วงสัปดาห์การลงทะเบียนผู้เรียนต้องเข้าระบบ THAMMASAT GEN NEXT ACADEMY เพื่อเลือกและลงทะเบียนวิชาต่าง ๆ พร้อมชำระเงินในระบบจนสมบูรณ์ หากมีผู้สนใจจำนวนมากให้ใช้หลักการมาก่อนได้ก่อน (first come first serve)

ไม่ต้อง แต่ผู้เรียนมีหน้าที่ในการประเมินความสามารถและพื้นความรู้ของตนเองว่าสามารถเรียนวิชาดังกล่าวได้หรือไม่

ไม่มี สำหรับวิชาที่เรียนในห้องรวมกับ นศ. ปกติของมหาวิทยาลัย จะไม่มีการจัดข้อสอบชุดพิเศษให้ แต่ให้สอบด้วยวิธีการและข้อสอบเดียวกับ นศ. ปกติ ระเบียบการสอบต่าง ๆ ให้อนุโลมใช้ระเบียบว่าด้วยการสอบของ นศ.ปกติ

บางวิชาอาจมีการเช็คชื่อเข้าเรียนหรือเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ของวิชา หากขาดเรียนโดยไม่มีเหตุจำเป็น อาจส่งผลให้ขาดคะแนน หรือไม่สามารถเข้าสอบปลายภาคได้

ได้ ตามช่วงเวลาเพิ่มถอนตามปฏิทินที่มหาวิทยาลัยกำหนดของ นศ. ปกติ

ผลเกรดและใบประกาศนียบัตรจะสามารถดาวน์โหลดได้จากระบบ Thammasat Gen Next Academy กรณีต้องการฉบับพิมพ์บนกระดาษพิเศษพร้อมตราประทับ สามารถยื่นร้องขอได้จากทางมหาวิทยาลัย (มีค่าธรรมเนียมบริการ)

แต่ละวิชา มีข้อจำกัดด้านห้องเรียน การจัดการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และ การดูแลของผู้สอน ในการเพิ่มจำนวนรับแต่ละวิชา หากไม่ติดข้อจำกัดต่าง ๆ อาจเพิ่มได้โดยความประสงค์ของผู้สอน

การเรียนแบบผสมผสานคือการเรียนที่ผสมการเรียนออนไลน์ (online e-learning) และการเรียนในชั้นเรียน (face-to-face) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนเนื้อหาบางส่วนได้ตามอัธยาศัย (anywhere-anytime) และใช้เวลาในห้องเรียนเพื่อสร้างการเรียนรู้ที่ต้องการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน โดยบางวิชาในโครงการธรรมศาสตร์ตลาดวิชา อาจจัดเป็นรูปแบบดังกล่าว เพื่อลดภาระการเดินทางของผู้เรียนมายังมหาวิทยาลัย และ เปิดโอกาสแก่ผู้เรียนในการด้วยตนเองตามความต้องการ

การจัดอบรมระยะสั้น (short course, workshop) ที่จัดโดยหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย สามารถเปิดรับสมัคร ชำระเงินและนำผลการเรียนรู้ มาเทียบโอนเป็นหน่วยกิตสะสมตามรายวิชาของคณะหน่วยงานในมหาวิทยาลัยได้ โดยต้องผ่านความเห็นชอบของฝ่ายวิชาการก่อน หลักการนับหน่วยกิตจะดูจากจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ประมาณ 15 ชั่วโมงต่อหน่วยกิต หรือจาก ผลลัพธ์การเรียนรู้ (learning outcomes) เทียบเท่ากับวิชาปกติ

10 คำถาม ธรรมศาสตร์ตลาดวิชา (สำหรับผู้สอนและผู้จัดอบรมหลักสูตร)

แจ้งความประสงค์ต่อมหาวิทยาลัยในการเปิดรายวิชา พร้อมระบุข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ที่จำเป็น โดยอาจารย์ผู้สอนสามารถตรวจสอบรายวิชาบนระบบและปรับแก้ไขข้อมูลวิชา และ ดาวน์โหลดข้อมูลผู้เรียนได้จากทางระบบโดยตรงในภายหลังวันลงทะเบียน

ระบบสามารถตอบโจทย์การเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอนได้ดังนี้ (1) ใช้เป็นระบบทะเบียนของศิษย์ธรรมศาสตร์ในการลงทะเบียน ชำระเงินค่าเล่าเรียน และ ประกาศผล (2) ใช้เป็นระบบจัดการการเรียนรู้ (learning management system: LMS) ในการปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์ผู้สอนและระหว่างผู้เรียน เช่น บทเรียนออนไลน์ สั่งหรือส่งการบ้านออนไลน์ หรือการประกาศประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ

ได้ นักศึกษาปกติของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สามารถเข้าใช้ระบบ GEN NEXT ACADEMY ได้ด้วย หากอาจารย์ผู้สอนเพิ่มรายชื่อ นศ. ปกติเข้าสู่ระบบ นศ. ก็จะสามารถร่วมกิจกรรมเรียนรู้แบบออนไลน์ได้ด้วยเช่นกัน

อาจารย์สามารถติดต่อ ประกาศ มอบหมายงาน รับส่งงาน สร้างบทเรียนและการสอบย่อย รวมถึงการจัดการเรียนรู้รูปแบบอื่น ๆ แบบออนไลน์ได้ นักศึกษาสามารถเห็นรายวิชาต่าง ๆ ของตนเองผ่านระบบเดียว สามารถเรียนออนไลน์ ติดตามงานค้างและส่งงานได้อย่างครบถ้วน

ไม่มี การสอบและประเมินผลศิษย์ธรรมศาสตร์ใช้ระบบเดียวกับ นศ. ปกติ

กรณีดังกล่าวผู้สอนอาจดำเนินการตามลำดับดังนี้ 1. เสนอแนะเนื้อหาพื้นฐานให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเอง 2. ชี้แนะและตอบข้อสงสัยต่าง ๆ ที่นักศึกษามี 3. แนะนำให้นักศึกษาถอนรายวิชาดังกล่าว โดยอาจเรียนในห้องต่อไปได้จนจบเทอม

ใช้ข้อบังคับเดียวกับ นศ. ปกติ คืออาจารย์อาจสั่งให้ นศ. ออกนอกห้องเรียน หรือ ติดต่อฝ่ายวิชาการเพื่อช่วยดำเนินการแก้ไข

มหาวิทยาลัยอยู่ในระหว่างพิจารณาการแบ่งปันผลประโยชน์และค่าตอบแทนต่าง ๆ ทั้งในระดับผู้สอน คณะ และ มหาวิทยาลัย คาดว่าจะชัดเจนภายในสิ้นปีนี้

การส่งผลคะแนนและเกรด ผู้สอนต้องส่งด้วยตนเองภายในระบบออนไลน์ GEN NEXT ACADEMY ด้วยตนเอง

หลักสูตรอบรมระยะสั้นสามารถขอเข้าร่วมในระบบดังกล่าว เพื่อประชาสัมพันธ์และรับสมัคร ประมวลผลและประกาศผล ได้โดยติดต่อหน่วยงานผู้ดูแลระบบ โดยตรง หากต้องการเทียบโอนหลักสูตรอบรมระยะสั้นเป็น หน่วยกิตสะสมได้ ต้องขออนุมัติจากฝ่ายวิชาการก่อน